วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำถาม

1. ซอฟต์แวร์(software) คืออะไร?
ตอบ ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ ใช้สั่งให้คอมพิงเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ

2. ซอฟต์แวร์มีความจำเป็นหรือไม่?
ตอบ มี ซอฟแวร์เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์

3. ซอฟต์แวร์แบ่งกี่ประเภทอะไรบ้าง?
ตอบ 2 ประเภท คือ
 1. ซอฟต์แวร์ระบบ
 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

4. ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร?
ตอบ โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์

5. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร?
ตอบ โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการ

6. ระบบปฎิบัติการแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง?
ตอบ 2 ชนิด
 -windows
 -Linua

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

ขั้นที่ ๑ รับข้อมูล (input) เป็นการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆเช่น การพิมพ์ข้อความเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์ การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน เป็นต้น
ขั้นที่ ๒ ประมวลผลข้อมูล (process) เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ เช่น การนำข้อมูลที่รับเข้ามาหาผลรวม เปรียบเทียบคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์สำหรับประมวลที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง
ขั้นที่ ๓ จัดเก็บข้อมูล (storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผลแรม รวมถึงจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสถ์ (hard disk) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) เป็นต้น
ขั้นที่ ๔ แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆเช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
จากขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้ง ๔ ขั้นตอน จะมีการทำงานประสานกัน โดยเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อมูลและคำสั่งซึ่งอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและส่งไปจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บชั่วคราวจะถูกส่งไปประมวลผล เป็นผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ซึ่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศจะถูกส่งไปแสดงผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ และหากต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ในภายหลัง ผลลัพธ์จะถูกนำไปจัดเก็บ สำหรับการเรียกใช้ได้อย่างถาวร การทำงานทั้ง ๔ ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (IPOS cycle)
ปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีการทำงานพื้นฐานทั้ง ๔ ขั้นตอน เรียกว่า คอมพิวเตอร์ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ จึงมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ตัวอย่างเช่น การทำงานของเครื่องรับเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM ) ซึ่งเครื่องเอทีเอ็มถือเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีการทำงาน ๔ ขั้นตอน คือ การรับข้อมูลเข้าโดยผู้ใช้ใส่บัตรเอทีเอ็มและป้อนข้อมูลรหัสเอทีเอ็ม จากนั้นผู้ใช้เลือกคำสั่งถอนเงินจะถูกส่งไปประมวลผล คือ การอ่านยอดเงินในบัญชีและการหักเงินที่ถอนในบัญชีธนาคาร จากนั้นเครื่องเอทีเอ็มจะแสดงยอดเงินคงเหลือในบัญชีให้ผู้ใช้ทราบ และสุดท้ายเก็บข้อมูลการถอนและยอดเงินคงเหลือไว้ในบัญชีธนาคาร

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

 ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานของหลายองค์กร ทั้งการพิมพ์เอกสาร จัดเก็บข้อมูล นำเสนอผลงาน รวมทั้งการออกแบบงานต่างๆ ซึ่งลักษณะของงานจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป ผู้ใช้ควรศึกษาถึงหลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงและทำความเข้าใจอย่างละเอียดก่อนจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งอาจปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้
.๑ การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กๆน้อยๆเป็นต้น
                ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (graphic user) งานด้านกราฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆตัว เช่น โปรแกรม Photoshop, IIIustrator, CorelDraw, PageMaker เป็นต้น ซึ่งราคาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (advanced graphic user) ซึ่งต้องแสดงผลงานในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D animation ผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในระดับการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD, 3D Studio Max และ Maya เป็นต้น จึงควรจะเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ระดับผู้เล่นเกม (gammer user) ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียนแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย

.๒ วิธีการกำหนดคุณลักษณะคอมพิวเตอร์
                เมื่อทราบระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานในแต่ละระดับนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer :PC) ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
๑)สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ รวมถึงการเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยาว์ คุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Celeron D, Pentium 4, Pentium D หรือ AMD Sempron, AMD Athlon 64x2
แรม
ประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
เลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผล ควรเลือกแบบซีอาร์ที ขนาด ๑๗ นิ้ว ไดรฟ์ซีดี ดีวีดี โมเด็ม ลำโพง และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ
๒)สำหรับการใช้งานด้านกราฟิก สำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียน โปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน  อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64x2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
มีสล็อต PCl Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆอาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express x16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon x1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๑๙ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องสำรองไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเลือซื้อได้ตามความต้องการ และหากต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมาก อาจจะเลือกบลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
สำหรับการใช้งานกราฟิกขั้นสูง สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมต่างๆโดยเฉพาะงานที่ต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ รวมถึงการเล่นเกมสามมิติ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเป็นดังนี้
หากใช้งานด้านตัดต่อภาพยนตร์ อาจเพิ่มแรมเป็น 4 GB ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA-II และขนาด 600 GB ขึ้นไป การ์ดจอประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น Vidia Quadro การ์ดเสียงและลำโพงคุณภาพสูงแบบ Surround และอาจเลือกใช้บลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ต้องการเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ความจุ และมาตรฐานต่างๆอย่างไร ก็ตามการเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างอื่นมากมายทั้งต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงควรรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกม ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้เล่นเกม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo , Intel Core 2 Quad หรือ AMD Athlon 64x2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน  ๒ แถว เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ด
รองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCl Express x16 จำนวน ๑-๒ ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CrossFire
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express  ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD1300 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLIหรือ CrossFire ด้วย
การ์ดเสียง
ใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ Multi-Channel
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbpsหรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๒๒ นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป




การสำรวจราคา
เมื่อผู้ใช้กำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการแล้ว ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ แล้วนำราคาแต่ละแหล่งมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งตรงกับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการอีกด้วย
การสำรวจบริการหลังการขาย
โดยดูระยะเวลารับประกันของอุปกรณ์ต่างๆ และการให้บริการหลังการขาย เช่น หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา ผู้ใช้สามารถติดต่อศูนย์บริการนี้ได้อย่างสะกวดและรวดเร็ว โดยต้องมีผู้ให้คำแนะนำและสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานเบื้องต้นได้ รวมทั้งยังสามารถบริการไปซ่อมที่บ้าน (on-site maintenance) ของลูกค้าได้อีกด้วย
การตรวจสภาพอุปกรณ์ก่อนอกจากร้าน
เมื่อได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพและการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากร้านก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิ มีใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับประกันอย่างครบถ้วน หากมีปัญหาอะไรสามารถกลับมาที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ต่างๆได้



































































วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัด 19 มิ.ย 57

1.ขั้นตอนการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1.รับข้อมูล

toyfreedom.blogspot.com

2.ประมวนผลข้อมูล

www.weblog.web.id

3.จัดเก็บข้อมูล

kruvorawat.wordpress.com

4.แสดงผลข้อมูล


www.sinpun.ac.th

2.จงอธิบายองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มาอย่างสังเขป
ตอบ หน่วยรับเข้า
        หน่วยประมวณผลกลาง
        หน่วยความจำหลัก
        หน่วยความจำรอง
        หน่วยส่งออก








วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยความจำลอง secondary storage

หน่วยความจำลอง secondary storage

อ้างอิง kuked-tech.blogspot.com

หน่วยความจำรอง
          หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไว้ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกตามต้องการ บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) ประกอบด้วย
          1.  แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่นบันทึกอย่างน้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน
          การเก็บข้อมูลจะทำโดยบันทึกลงไปที่ผิวของแผ่น ปกติใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัว แผ่นจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่ละแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่า เซกเตอร์ (sector) แผ่นบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 เมกะไบต์
         2.  ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่เหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน  หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออก 
เพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์  (cylinder)  แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ  
          ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก ขนาดของฮาร์ดดิสก์มีความจุเป็นกิกะไบต์ 
เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 15 กิกะไบต์ การเขียนอ่านข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์จะกระทำเป็นเซกเตอร์ 
และเขียนอ่านได้เร็วมาก เวลาที่ใช้ในการวัดการเข้าถึงข้อมูลมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที  
         3.  เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว  ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก 
เคลือบด้วยสารแม่เหล็กเหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก  มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (sequential access)  
เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูลลำดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ 
ส่วนการประยุกต์นั้นเน้นสำหรับใช้สำรองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย  ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องเก็บสำรองข้อมูลไว้   
       4.  แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี
 ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการทางแสง  แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า 
ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์ 
ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น
 แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น 
จนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์ (optical disk)